Sweat Issue

Sweat Issue

“เหงื่อ” เพื่อนไร้พรมแดนฉบับ ที่ 40 นำเสนอเรื่องราวของสิทธิแรงงานข้ามชาติในแง่มุมต่าง ๆ คำว่าแรงงานข้ามชาติในที่นี้ เอ่ยถึงข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบันโดยเกี่ยวกับสาเหตุการเดินทางข้ามชาติ ซึ่งอาจเป็นการลี้ภัยจากการประหัตประหาร …

Read more Sweat Issue

Rosy Cheeks Issue

Rosy Cheeks Issue

นิตยสารเพื่อนไร้พรมแดนฉบับ “แก้มแดง” นำเสนอเรื่องราวว่าด้วยความมั่นคงทางสุขภาพของผู้ที่มักถูกสังคมหลงลืม เป็นที่เข้าใจว่า คนไทยย่อมต้องเข้าถึงสิทธิต่อสุขภาพและย่อมต้องมีหลักประกันสุขภาพ เพราะเราคือพลเมืองที่มีส่วนสร้างให้สังคมดำรงอยู่อีกทั้งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดูแลพลเมืองตน อย่างไรก็ดี ความมุ่งหมายในการดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย และกลุ่มชาติพันธุ์มักถูกเอ่ยถึงในเชิง “การควบคุมโรคติดต่อ” เพื่อไม่ให้แพร่กระจายในสังคมไทยเสียมากกว่า เส้นทางการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพของเราเหล่านั้นจึงขรุขระเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่การต่อสู้เพื่อกองทุนสุขภาพสำหรับผู้มีปัญหาสถานะบุคคล …

Read more Rosy Cheeks Issue

Back Home Issue

Back Home Issue

“กลับบ้าน” ในที่นี้ จึงเป็นเพียงคำถาม…ที่ไม่มีคำตอบ นิตยสารเพื่อนไร้พรมแดนฉบับที่ 38 ว่าด้วยสิทธิของมนุษย์ที่จะไม่ถูกส่งกลับไปสู่ภยันอันตราย และสิทธิที่แม้จะถูก “ส่งกลับ” ด้วยเหตุผลใด ก็ย่อมต้องเป็นไปอย่างปลอดภัยและด้วยความเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เราได้หยิบยกกรณี “การกลับบ้าน ของผู้ลี้ภัยหนองขัวและอุสุทะ” ซึ่งเป็นข้อถูเพียงถึงความชอบธรรมของการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่หรือการคงอยู่ในประเทศไทยของผู้ลี้ภัยมาเสมือนเป็นกรณีตัวอย่าง โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลส่วนหนึ่งจากศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน  ณ ที่นี้ …

Read more Back Home Issue

ID Card Issue

ID Card Issue

เพื่อนไร้พรมแดนฉบับที่ 37 ว่าด้วยเรื่อง “บัตร” ซึ่งเป็นคำง่าย ๆ ที่คนทั่วไปใช้เมื่อเอ่ยถึงสถานะทางกฎหมายของบุคคล แม้สถานะดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับ “ตัวตน”ที่แท้ของใคร การทำงานด้วยสถานะบุคคลก็ยังมีความสำคัญ เพราะนสถานการณ์ปัญหาที่ทับถมมาจนถึงวันนี้ การดำเนินการให้คนทุกคนได้เข้าถึงสิทธิที่จะมีสถานะทางกฎหมารย ก็น่าจะเป็นหนทางหลักที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นที่เข้าถึงได้จริง

Read more ID Card Issue

Change Issue

Change Issue

ปี 2552 เป็นปีที่พวกเราเตรียมตัวยอมรับชะตากรรมแล้วว่า เพื่อนไร้พรมแดนซึ่งก้าวมาครบ 10 ขวบปีอาจถึงกาลต้องยุติการดำเนินงาน แม้จะเชื่อมั่นในความสำเร็จว่านี่คือช่วงเวลาที่เรากำลังก้าวไปข้างหน้าได้มากที่สุดปีหนึ่ง เราก้ถูกปฏิเสธจากแหล่งบริจาคทุนทั้งเก่าและใหม่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ กันจนแทบจะสิ้นหวัง แต่จะว่าไปแล้ว ปี 2552 ก็เป็นปีที่สวยงามไม่น้อย อาจเป็นปีที่น่าภาคภูมิใจมากที่สุดปีหนึ่งสำหรับการดำรงอยู่ของ “เพื่อนไร้พรมแดน” เสียด้วยซ้ำ เมื่อในที่สุด …

Read more Change Issue

Fight Against Diseases Issue

Fight Against Diseases Issue

เพื่อนไร้พรมแดนฉบับ “สู้โรค” นำเสนอบางส่วนบางภาพของ “หน้าแรก ๆ และหน้าถัดไป” ของหนังสือชีวิตสุขภาพแรงงานอพยพ  ผู้ลี้ภัย และชนเผ่าพื้นเมือง ล้อไปกับเรื่องราวแวดล้อมเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งจะจบลงในฉบับนี้ เพื่อพบกันในปีหน้า ท่านคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเรา ความคิดเห็นของท่านเป็นสิ่งที่เรารอคอยเสมอ การสนับสนุนทุกรูปแบบรวมทั้งการสมัครสมาชิกจะทำให้เราก้าวต่อไปได้ …

Read more Fight Against Diseases Issue

Maternity Issue

Maternity Issue

นิตยสารเพื่อนไร้พรมแดนฉบับ “แม่ลูก” เปิดประเด็นสืบเนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษลำดับที่ห้าว่าด้วยสุขภาพของแม่และเด็ก ประเด็นดังกล่าวนี้น่าจะเป็นเรื่องทางมนุษยธรรมที่ไม่ควรจะมีปัญหาแต่ประการใด กระทรวงสาธารณสุขก็มีนโยบายให้บริการสุขภาพแก่แม่ทุกคนโดยไม่จำกัดสัญชาติสถานะอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง และในทงปฏิบัติ สิทธิต่อสุขภาพอนามัยที่ดีของแม่และเด็กนั้นเชื่อมโยงกับสิทธิทางอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงอย่างแนบแน่น และ สิทธิทางอนามัยเจริญพันธุ์ก็ย่อมเข้าถึงสิทธิต่อสุขภาพอนามัยที่ดีได้เลย หากยังสิทธิอื่น …

Read more Maternity Issue

หมีโหน่งหนีน้ำท่วม

หมีโหน่งหนีน้ำท่วม

หมีโหน่งหนีน้ำท่วม หนังสือนิทานเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานของเด็กๆชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านทีหนึโคะและค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้กับพวกเขาเองและรุ่นน้องๆต่อไป นิทานภาพชุดนี้ชนะการประกวดเรียงความและนิทานของเด็ก ๆ ในโครงการสิทธิเด็กปี พ.ศ. 2552 การผลิตหนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่ชาวกะเหรี่ยงที่มาช่วยแปลรวมทั้งตรวจสอบภาษา …

Read more หมีโหน่งหนีน้ำท่วม

= Issue

= Issue

นิตยสารเพื่อนไร้พรมแดนฉบับ “เท่ากัน” ตอบรับกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษหนึ่งในแปดข้อที่ว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งรัฐต้องบรรลุให้ได้ในปี ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดี เราได้ขยายความลึกไปถึงมิติทางเพศที่หลากหลายในรายละเอียดมากกว่า “ผู้หญิง-ผู้ชาย” และไกลไปกว่าเพียงประเด็นความเท่าเทียมเชิงปริมาณในบริบทของ การศึกษา งาน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง สำหรับดิฉันเอง บริบทแวดล้อมชีวิตและสถานะอื่น ๆ …

Read more = Issue