อย่างที่หลายคนทราบว่า สถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาร์ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกองกำลังต่างๆ ที่นำไปสู่ความเสียหายอย่างรุนแรง การลิดรอนสิทธิของนักโทษทางการเมืองในเรือนจำ รวมถึงการใช้สิทธิ์ ใช้เสียงของตัวเองเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมาร์
เพื่อนไร้พรมแดนสรุปสถานการณ์สำคัญทั้งสถานการณ์-การต่อสู้ รวมถึงการลิดรอนสิทธิที่รัฐบาลเมียนมาร์ทำกับประชาชนไว้ในโพสต์นี้ เพื่อให้คุณได้เข้าใจฉากทัศน์ของเหตุการณ์ทั้งหมดได้มากขึ้น
การข่มขืนและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักโทษผู้ต้องขังคดีทางการเมืองที่เป็น LGBTQ+ ในเมียนมาร์
จากรายงานของเครือข่ายนักโทษการเมืองทั่วประเทศของเมียนมา (PPNM) พบว่าที่เรือนจำ Tharyarwaddy ในเขต Bago มีการข่มขืนผู้ต้องขังทางการเมืองที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ
นักโทษการเมืองวัย 24 ปี ถูกจับกุมโดยรัฐบาลทหารในเดือนกันยายน 2021 และถูกตัดสินจำคุก 9 ปี ด้วยข้อหาตามมาตรา 50 (J), มาตรา 51 (C), มาตรา 54, มาตรา 17 (1) และข้อหาเกี่ยวกับอาวุธอื่น ๆ หลังจากที่ถูกย้ายจากเรือนจำ Insein ไปยังเรือนจำ Tharyarwaddy
นาย Yey Yey ถูกจัดให้อยู่ในห้องขังแยกต่างหากในเรือนจำ Tharyarwaddy นาย Thike Thit Oo หนึ่งในผู้รับผิดชอบของ AAPP กล่าวในสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ นักโทษการเมืองวัย 24 ปีคนดังกล่าวถูกผู้ต้องขังในห้องเดียวกันใช้หินทุบตีจนหัวแตกและต้องเข้ารับการเย็บบาดแผลที่โรงพยาบาลเรือนจำ เนื่องจากเขาพยายามปฏิเสธการข่มขืน
จากเหตุการณ์ข่มขืนนี้เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ลงโทษสถานเบากับผู้กระทำการข่มขืนเพียงเท่านั้น ไม่ได้ลงโทษหนักตามที่คาดไว้เพิ่มเต นาย Thike Thit Oo กล่าว
อดีตนักโทษการเมือง Ma Soe Han Nwe Oo กล่าวว่า “ฉันเองก็เคยเจอเหตุการณ์นี้ที่เรือนจำ Obo ใน Mandalay ปัญหาหลักคือคนในเรือนจำไม่ยอมรับเหตุการณ์แบบนี้ พวกเขามองคนที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างรุนแรง
เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทุกวันจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการคุ้มครองอย่างจริงจัง ในเวลานี้ต้องให้ความสนใจและเผยแพร่เรื่องนี้มากขึ้น” AAPP กล่าวว่านักโทษการเมืองที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมในเรือนจำต่าง ๆ ในเมียนมากำลังเผชิญกับการกดขี่จากเจ้าหน้าที่เรือนจำ รวมถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศและการใช้ความรุนแรงจากนักโทษอาชญากรรมอื่น ๆ
กลุ่มประท้วงสะกายรวมพลัง Rebel & Revolt ต้านเผด็จการทหารหลังผ่าน 3 ปี
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วงพระอาทิตย์ตกที่ภูมิภาคสะกาย กลุ่มขบวนการประท้วงแห่งหมู่บ้านหยินมะบิน-สะลิงยี ได้ดำเนินการประท้วงต่อต้านเผด็จการทหารเป็นวันที่ 1,166 แล้ว ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวบ้านในภูมิภาคนี้ การประท้วงในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขบวนการ “Rebel & Revolt, Peacock Pride” ที่ได้เข้าร่วมในการประท้วงเพื่อเป็นกำลังใจและร่วมต่อสู้เคียงข้างประชาชน
ในการประท้วงครั้งนี้ ผู้ประท้วงได้ร่วมกันชูธงของสหพันธ์นักศึกษาทั้งพม่า (All Burma Federation of Student Unions) ไว้ที่หน้าขบวนการประท้วง เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกภาพและการสนับสนุนต่อกลุ่มนักศึกษาที่เป็นแนวหน้าของการเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร ธงนี้ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ แต่ยังเป็นเครื่องหมายของความหวังที่ประชาชนทั่วพม่าต่างมีในการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตที่ดีกว่า
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประท้วงยังได้ประกาศว่าจะไม่หยุดยั้งการต่อสู้ จนกว่าประเทศพม่าจะได้รับอิสรภาพจากเผด็จการและมีการฟื้นฟูประชาธิปไตยที่แท้จริง การชุมนุมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการต่อสู้ครั้งนี้ในสายตาของประชาคมโลก
NGO ทั่วโลกเร่งรัฐบาลญี่ปุ่นหยุดสนับสนุนกองทัพเมียนมาร์ ก่อนครบ 3 ปีแห่งการละเมิดสิทธิ
กองทัพเมียนมาร์ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 และโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตั้งแต่นั้นมากองทัพได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่ประท้วง ซึ่งเทียบเท่ากับอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการกระทำของกองทัพ รวมถึงนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและพลเรือน ทะลุ 4,000 คนในเดือนสิงหาคม 2023 และยังคงเพิ่มขึ้น
สหประชาชาติประเมินว่ามีผู้คนมากกว่า 2 ล้านคนถูกบังคับให้ต้องพลัดถิ่นทั่วเมียนมาร์ และหากความรุนแรงโดยกองทัพไม่หยุดลง จำนวนผู้เสียหายและผู้พลัดถิ่นจะเพิ่มขึ้น พลเมืองทั่วโลกพยายามยุติสถานการณ์นี้โดยเร็ว องค์กรในญี่ปุ่นได้เริ่มแคมเปญ #NoMoreBusinessWithTheMyanmarJunta และดำเนินการมาเกือบสามปี แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงให้เงินทุนสาธารณะแก่เมียนมาร์ ทั้งในรูปแบบความช่วยเหลือทางการพัฒนา (ODA) และเงินทุนสาธารณะอื่นๆ (OOF) ซึ่งรวมถึงเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JBIC) และการลงทุนในบริษัทโดยบริษัทญี่ปุ่นเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนส่งและการพัฒนาเมืองในต่างประเทศ (JOIN)
โครงการบางส่วนในเมียนมาร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพเมียนมาร์ ซึ่งรายได้จากธุรกิจเหล่านี้ถูกนำไปสนับสนุนการกระทำที่โหดร้ายของกองทัพ มีความกังวลว่าเงินทุน ODA ของญี่ปุ่นอาจถูกกองทัพควบคุม ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนคณะรัฐประหารอย่างไม่เป็นทางการ นอกจากนี้เงินกู้เยนจำนวนมากจะกลายเป็นภาระหนี้สำหรับประชาชนเมียนมาร์ในอนาคต องค์กร NGO ทั่วโลกได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยุติการสนับสนุนทางการเงินที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพเมียนมาร์และเชิญชวนให้ลงนามในคำร้องนี้ ซึ่งถึงแม้จะมีการยื่นรายชื่อรอบล่าสุดไปแล้วเมื่อวานนี้ แต่เราก็อยากเชิญทุกคนร่วมลงชื่อให้ถึงเป้าหมาย เพื่อให้เสียงของเพื่อนเราไปถึงหูรัฐบาลญี่ปุ่นจริงๆ
ลงชื่อที่ bit.ly/3WJ9eEr