มิตรภาพไร้พรมแดน 

มิตรภาพไร้พรมแดน 

| | Share

(English language below)
1 กุมภาพันธ์ 2564

มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2542 เพื่อส่งเสริมแนวคิดสิทธิมนุษยชนและมิตรภาพไร้พรมแดน 

ในช่วงกว่าทศวรรษแรก งานหลักของเรา คือการสร้างศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชน และผสานความเข้าใจของสังคมไทยกับประชาชนที่ต้องพลัดถิ่นฐานจากประเทศพม่า ทั้งกลุ่มนักศึกษาปัญญาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย แรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัยกลุ่มชาติพันธุ์ในค่ายพักตลอดแนวชายแดน 

นับจากวันนั้น เราได้ผ่านพ้นยุคสมัยที่คณะทหารผู้ปกครองพม่าเรียกตนเองว่า SLORC (State Law and Order Restoration Council) มาจนถึง SPDC (State Peace and Development Council) ต่อจนถึงการสร้างพรรค USDP (Union Solidarity and Development Party) และการเลือกตั้งทั่วไปกับการทำสัญญาหยุดยิง NCA (Nationwide Ceasefire Agreement)ในปีพ.ศ. 2558 

ห้าปีที่ผ่านมา แม้กติกาการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยอิทธิพลของคณะทหารจะล็อคอำนาจให้อยู่แก่กองทัพ และแม้การตกลงหยุดยิงจะมีเงื่อนไขที่กลุ่มชนชาติต่าง ๆ เสียเปรียบ จนประชาธิปไตยต้องล้มลุกคลุกคลาน ตลอดจนมีการปะทะ รุกราน และละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกองทัพพม่าอยู่ตามแนวชายแดนทั้งตะวันตกและตะวันออก ในภาพกว้างแล้ว พัฒนาการทางการเมืองของพม่าก็ยังคงมีหวัง ผู้พลัดถิ่นฐานจำนวนหนึ่งได้กลับไปพยายามสร้างชีวิตใหม่ที่บ้านเกิด จำนวนที่เหลือก็ยังเรียกได้ว่ามีความหวังมากกว่าแต่ก่อนเก่า

ทว่า รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2564 วันนี้ ได้นำประเทศพม่ากลับไปสู่จุดเดิม และมีความเสี่ยงที่จะก้าวต่อสู่ความรุนแรงทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในประเทศอย่างทวีคูณ

มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน ยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเสมอมา ในการนี้ เราขอประณามรัฐประหารในประเทศพม่า และขอเชิญชวนในสังคมไทยที่เชื่อมั่นในมิตรภาพไร้พรมแดน ได้ยืนหยัดเป็นกำลังใจ เกื้อกูล ต่อสู้ และก้าวเดินไปกับเพื่อนของเรา 

ดังที่เราเชื่อเสมอมาว่า ตราบใดที่มนุษย์เรายังเห็นผู้หนึ่งเป็นเพื่อน นอกจากเราจะไม่ทำร้ายเขาแล้ว เราย่อมจะไม่นิ่งเฉยเมื่อเห็นเขาถูกทำร้าย

ภาพประกอบ : ซอ โง อดีตนักศึกษาพม่าที่ลี้ภัยในประเทศไทยหลัง 1988

1 February 2021

Friends Without Borders was established in 1999 in order to promote human rights and friendship beyond any boundaries. During the first decade and for some time after, we put all our efforts into strengthening human rights capacities of and promoting understanding between Thais and people of Burma in Thailand. These included pro-democracy students and intellectuals, migrant workers, and ethnic refugees in over ten border camps. 

Since then, different eras have passed, from the day that the regime called itself SLORC (State Law and Order Restoration Council), then changed to SPDC (State Peace and Development Council), established a political party USDP (Union Solidarity and Development Party) and moved on to the 2015 general election and the NCA (Nationwide Ceasefire Agreement).

During the past five years, although the election rules and 2008 constitution, written by the regime, have effectively locked the power within the army’s hands, and although the NCA offers came only with disadvantageous conditions to the ethnic nationalities, there was still hope. It was true that democracy had in fact been struggling all along, while attacks and human rights violations by the government’s army occured on both the eastern and western borders. Yet, there is still light in Burma/Myanmar political developments. Some refugees and migrants have had opportunities to return and try to rebuild their lives in their homeland, and it could be said that those remaining in Thailand could at least dream for something better than before. 

But today, the 1st February 2021 coup, has brought Burma back to where it was before. Moreover, more violence, be it political, social or economic, can be expected.

Friends Without Borders has always held firmly to the principles of human rights and democracy. We strongly condemn the coup and would like to urge the members of Thai society who believe in friendship beyond boundaries to stand for, stand with and walk with our friends in Burma. 

We have always believed that as long as one sees another as a friend, not only will one not harm that person, but also not tolerate that person being harmed.

Illustration by Zaw Ngo, former Burmese student who took asylum in Thailand after 1988

Related