อาชญากรสงครามกับการลี้ภัย

อาชญากรสงครามกับการลี้ภัย

| | Share

อาชญากรสงครามกับการลี้ภัย

การที่รัฐบาลไทยอ้าแขนต้อนรับอดีตประธานาธิบดีศรีลังกาที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายอาชญากรสงคราม ในขณะที่ไม่สนใจใยดีกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากพม่าซึ่งเป็นนักการเมือง นักกิจกรรม และสื่อมวลชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย กีดกันและมุ่งผลักดันกลับผู้ลี้ภัยสงครามชายแดน รวมถึงส่งผู้ลี้ภัยการเมืองกัมพูชา อุยกูร์ ฯลฯ ไปสู่อันตราย สมควรที่จะถูกตั้งคำถามเป็นอย่างยิ่ง 

ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ลี้ภัย หมายถึงบุคคลที่ต้องเดินทางออกจากประเทศของตน ด้วยความหวาดกลัวการประหัตประหาร อันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศสภาพ ความคิดเห็นทางการเมือง และการเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่ง  ผู้ลี้ภัยสงครามที่หลบหนีภัยอันตรายเข้ามาเป็นจำนวนมาก ก็อนุมานได้ว่าเป็นผู้ลี้ภัย โดยที่ยังไม่ต้องมีการพิจารณาสถานะเป็นรายบุคคล

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย 1951 ข้อ 1 (F) (a) ระบุว่า ข้อกำหนดของอนุสัญญานี้จะไม่สามารถใช้กับบุคคลที่มีเหตุให้พิจารณาว่าก่ออาชญากรรมสงคราม อาชญกรรมต่อสันติภาพ และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้อาชญากรเหล่านี้อ้างสิทธิในการลี้ภัยเพื่อหลีกหนีการรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

ข้อกล่าวอ้างของรัฐบาลไทยในการรับผู้ที่มีประวัติเข้าข่ายอาชญากรสงครามจนถูกประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่ จึงเป็นการล้อเล่นกับ “มนุษยธรรม” และเย้ยหยันพลเมืองไทยและพม่าผู้เชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนจนเกินไป

11 สิงหาคม 2565

Related