รัฐไทยเลือกแสดงจุดยืน ด้วยการประกาศว่าผู้ต่อต้านเผด็จการพม่าที่อาจมาลี้ภัยคืออาชญากร ?

รัฐไทยเลือกแสดงจุดยืน ด้วยการประกาศว่าผู้ต่อต้านเผด็จการพม่าที่อาจมาลี้ภัยคืออาชญากร ?

| | Share

รัฐไทยเลือกแสดงจุดยืน ด้วยการประกาศว่าผู้ต่อต้านเผด็จการพม่าที่อาจมาลี้ภัยคืออาชญากร ?

หลักการ Non-Refoulement คือการห้ามผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย 

แม้ไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย 1951 และพิธีสารต่อท้าย หลักการนี้ก็มีสถานะเป็น “กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ” (customary international law ) ที่จะต้องยึดถือโดยเด็ดขาด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่ (ExCOM on the International Protection of Refugees)

‘ผู้ลี้ภัย’ (refugees) คือ ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศตน และไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจจะกลับไป เนื่องจากมีความหวาดกลัวซึ่งมีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่า จะได้รับการ ประหัตประหารด้วยเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมหรือความคิดเห็นทางการเมืองใด (UNHCR)

ผู้ลี้ภัยมีสิทธิอันสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศตน ในการที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองของประเทศตนเอง (UNHCR)

แม้รัฐที่รับผู้ลี้ภัยอาจ “ไม่สะดวก” ให้ผู้ลี้ภัยมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของตนในประเทศ ก็ต้องหาวิถีทางอื่นในการแก้ปัญหา โดยจะต้อง “ไม่ปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยดังเช่นอาชญากร” และจะต้อง “ไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่อันตราย” 

ทั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของกองทัพพม่า ซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่สายตาของโลกแล้วว่า ได้กระทำการดังเช่นอาชญากร ประหัตประหารเข่นฆ่าประชาชนของตนไม่เว้นแม้แต่หญิงมีครรภ์ เยาวชน และเด็กเล็ก รัฐไทยจึงต้องเลือกว่า จะแสดงจุดยืนของตนด้วยการติดป้ายประกาศว่าบุคคลที่ต่อต้านอาชญากรรมดังกล่าวคืออาชญากร? หรือจะวางตนให้หนักแน่นและสง่างามเช่นไร ?

26 มีนาคม 2564

หมายเหตุ

กรุณาแสดงความคิดเห็นบนพื้นฐานการเคารพในเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และระมัดระวัง “ความผิดฐานหมิ่นประมาท” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ

หมายเหตุ : รายละเอียดข่าวตามลิงค์เบื้องล่างในคอมเมนต์ และภาพประกอบคือภาพจากรายงานข่าวดังกล่าว ซึ่งแปลมาจาก Tachilek News สื่อภาษาพม่าที่ประชาชนพม่าจะได้อ่านโดยทั่วไป

Related